ประวัติความเป็นมา

     ผมได้ติดตามและศึกษาขบวนการยุติธรรมของไทยตั้งแต่จบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจเมื่อปีพ.ศ.2525 และปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวน ที่ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ มีความเห็นว่าระบบกฎหมายไทยเป็นเรื่องที่ยากที่จะศึกษา และไม่มีการเก็บที่เป็นระบบ ค้นคว้าก็ยาก และไม่มีระบบเชื่อมโยงไปยังคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งเป็นศาลสูงสุด ทำให้ไม่ทราบว่า กฎหมายแต่ละมาตราที่ออกมานั้น มีแนวทางหรือบรรทัดฐาน ของคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นอย่างไรบ้างโดยเฉพาะ 4ประมวลกฎมายหลัก คือ ป.อาญาฯ ป.วิอาญาฯ ป.แพ่งฯ และป.วิแพ่งฯ ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นจำนวนมาก

       หลังจากนั้นระหว่างที่ผมได้ขอลาศึกษาต่อระดับปริญญาโท ที่ ประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างปีพ.ศ.2528- 2530  สาขาการบริหารรัฐกิจ และได้ศึกษาเพิ่มเติมในสาขาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์(computer software) เพื่อที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลระบบกฎหมายไทยและคำพิพากษาของศาลฎีกา ทำให้ค้นหาข้อมูลระบบกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกา รวดเร็วขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการค้นหาจากหนังสือเป็นเล่มๆ นอกนั้นยังทำให้การค้นหา ว่ากฎหมายมาตรานั้นๆ มีแนวทางคำพิพากษาสูงสุดตัดสินไว้ว่าอย่างไร หลังจบการศึกษาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้มาปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวกับการเรียนการสอนและประยุกต์ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับข้าราชการในกรมตำรวจ และในปี พ.ศ.2535 ผมได้ติดสินใจ ขอลาออกจากราชการตำรวจ ยศขณะนั้น พันตำรวจตรี เพื่อไปสมัครรับเลือกตั้งป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร(ส.ส.) ที่จังหวัดราชบุรี เหตุผลของการลาออกเพื่อต้องการไปปฏิรูประบบขบวนการยุติธรรมไทย ให้เป็นมาตราฐาน สามารถผลักดันในการ ออกกฎหมายต่างๆ ได้ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการเมือง  ในตำแหน่ง ประจำเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2536-2538 ทำให้มองเห็นปัญหาของขบวนการยุติธรรมไทย เช่นการบังคับใช้ตามกฎหมาย ระบบสืบค้นกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกา ไม่มีองค์กรใดทำในเรื่องนี้จริงจัง

       ผมจึงตัดสินใจเพื่อมาทำให้เป็นรูปธรรมเสียที จึงได้ตั้งบริษัท ในปี พ.ศ.2536 เพื่อมาพัฒนาเก็บข้อมูลกฎหมายไทย และคำพิพากษาศาลฎีกา ในระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ค้นหากฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกาด้วยความรวดเร็ว ซับซ้อน และเชื่อมโยงกฎหมายไปยังคำพิพากษาฎีกา ต่อมา ในปี พ.ศ.2545 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัทกฎหมายคอมพิวเตอร์จำกัด” จนถึงปัจจุบัน ผมมีความคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทย จะต้องมีระบบพื้นฐานในการปฏิรูปขบวนการยุติธรรม คือจะต้องการเก็บข้อมูลกฎหมายและคำพิพากษาศาลต่างๆ ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ และต้องให้ประชาชนทั้งหมดของประเทศ ประมาณ60ล้านคน รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ได้มีที่สืบค้น ที่รวดเร็วและซับซ้อน ปัจจุบันบริษัทได้เก็บข้อมูลเพียงกฎหมายหลักที่เป็นประมวลและ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และคำพิพากษาศาลฎีกาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2500 ถึงปัจจุบัน แต่บริษัทได้พัฒนาเก็บข้อมูลคำพิพากษาศาลปกครองและคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ เพิ่มเติมเข้ามาซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน สิงหาคม พ.ศ.2566 นี้ และมีเป้าหมายที่จะให้คนทั้งประเทศ ประมาณ 60ล้านคน ได้ใช้ ฟรี..ทำให้มีประโยชน์ในการปฏิรูปขบวนการยุติธรรมเป็นการติดอาวุธด้านกฎหมายและขบวนการยุติธรรมให้กับประชาชนทั้งประเทศ  ผมจึงได้ตั้งเครือข่ายร่วมกันปฏิรูปขบวนการยุติธรรมไทยขึ้นมา  ส่วนรายละเอียดว่าจะให้คนทั้ง60ล้านคนได้ใช้สืบค้นข้อมูลฟรี. มีขั้นตอนอย่างไร จะอธิบาย ในหัวข้อต่อๆ ไปครับ

พันตำรวจตรี ประสิทธิ์ มั่นพรรษา

ผู้ก่อต้้งเครือข่ายร่วมกันปฏิรูปขบวนการยุติธรรม

วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2566

Scroll to Top